การขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต คือ การขอใบอนุญาตเป็นนักสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีใบอนุญาตมาก่อนเท่านั้น หากท่านเคยมีใบอนุญาตแล้ว แต่หมดอายุ ขอให้อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ การต่ออายุใบอนุญาต
ผู้ที่สามารถขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต
- เป็นสมาชิกสามัญของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ หากยังไม่ได้เป็นสมาชิกสามัญ สามารถดาวน์โหลดแบบคำขอสมัครสมาชิกได้ที่นี่
- ผ่านการประเมินความรู้ ตามที่สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์กำหนด

สำหรับการขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตนั้น จะแบ่งเป็นทั้งหมด 3 กลุ่ม โดยทุกคนจะต้องผ่านขั้นตอนที่ 1 ก่อน คือ การสอบเพื่อประเมินความรู้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต (สอบข้อเขียน) ซึ่งท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบข้อเขียน ได้ที่นี่ และสำหรับขั้นตอนที่ 2 จะมีความแตกต่างไปในแต่ละกลุ่ม (สามารถดูได้จากแผนผังด้านบน หรือรายละเอียดด้านล่าง)
กลุ่มที่ 1 กลุ่มไม่มีประสบการณ์การทำงานสังคมสงเคราะห์ หรือมีประสบการณ์การทำงานสังคมสงเคราะห์น้อยกว่า 1 ปี
กลุ่มนี้ให้ดำเนินการฝึกปฏิบัติ 240 ชั่วโมง โดยยื่นแบบคำขอฝึกปฏิบัติ พร้อมโครงการฝึกปฏิบัติ มาที่อีเมล thaisocialworkcouncil@gmail.com ซึ่งเมื่อมีอีเมลตอบกลับว่าท่านสามารถฝึกได้ ให้ท่านดำเนินการฝึก และเมื่อฝึกสำเร็จ ให้ท่านรอสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ประกาศรับสมัครสอบ CASE REVIEW และเมื่อท่านสอบ CASE REVIEW ผ่านแล้ว ให้ท่านยื่นคำขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตได้เลย โดยใบอนุญาตที่ได้รับจะมีอายุ 5 ปี
กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานสังคมสงเคราะห์ 1 ปีขึ้นไป
กลุ่มนี้ให้ดำเนินการสมัครสอบ CASE REVIEW ได้เลยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการฝึกปฏิบัติ โดยให้ท่านรอสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ประกาศรับสมัครสอบ CASE REVIEW และเมื่อท่านสอบ CASE REVIEW ผ่านแล้ว ให้ท่านยื่นคำขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตได้เลย โดยใบอนุญาตที่ได้รับจะมีอายุ 5 ปี
กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีประสบการณ์การทำงานสังคมสงเคราะห์ 2 ปีขึ้นไป
กลุ่มนี้ให้ดำเนินการสมัครสอบ กระบวนการการกลุ่มสุนทรียสนทนา ซึ่งจะเป็นการสอบแบบเป็นกลุ่ม โดยกระบวนการสมัครคือ ให้ท่านรอสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ประกาศรับสมัครสอบ กระบวนการสุนทรียสนทนา และเมื่อท่านสอบ สุนทรียสนทนา ผ่านแล้ว ให้ท่านยื่นคำขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตได้เลย โดยใบอนุญาตที่ได้รับจะมีอายุ 5 ปี
ดาวน์โหลดแบบคำขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต (5 ปี)
(ยื่นแบบคำขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเมื่อท่านผ่านแล้วทั้ง 2 ขั้นตอนเท่านั้น)