อนุกรรมการบริการทางสังคมด้านผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสา


ความเป็นมา

     พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 มาตรา 5 ให้สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมมาตรฐาน จรรยาบรรณ ส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือหรือบริการทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
     กรรมการสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์มีมติให้แต่งตั้งอนุกรรมการบริการทางสังคมด้านผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสา นายกสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์มีคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการบริการทางสังคมด้านผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566

     อนุกรรมการบริการทางสังคมด้านผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสาดำเนินโครงการผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสา เพื่อรับสมัครผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ที่มีความสนใจและมีความพร้อมในการร่วมปฏิบัติภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต โดยสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสาช่วยเหลือหรือบริการทางสังคม สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ เปิดรับสมัครผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสา เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสาในการประสานและร่วมปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต

มีผู้สมัครผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสา รวม 166 คน ดังนี้
   • รุ่นที่ 1 จำนวน 67 คน
   • รุ่นที่ 2 จำนวน 99 คน

อนุกรรมการบริการทางสังคมด้านผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสามีโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสา

การอบรมตามโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสา ครั้งที่ 1
หัวข้อ“เทคนิคการทำงานกับผู้ประสบภาวะวิกฤต” ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom Cloud Meeting )

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรับรู้สถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต เห็นความสำคัญและเข้าใจบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสาต่อการช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม เข้าใจสภาวะของผู้ประสบภาวะวิกฤต ระบบการปฏิบัติ และเทคนิคการทำงานกับผู้ประสบภาวะวิกฤต สามารถประสานเครือข่ายในการปฏิบัติภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความพร้อมและสามารถดูแลตนเองเมื่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต

สาระสำคัญของเนื้อหาการอบรม

1. สถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต
2. ความสำคัญและบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสาในการช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต
3. สภาวะของผู้ประสบภาวะวิกฤต
4. ระบบการปฏิบัติทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต
5. เทคนิคการทำงานกับผู้ประสบภาวะวิกฤต
6. ประสานเครือข่ายในการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต
7. การเตรียมความพร้อมและสามารถดูแลตนเองของผู้ช่วยเหลือเมื่อร่วมปฏิบัติภารกิจให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต

การอบรมตามโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสา ครั้งที่ 2 หัวข้อ “บทบาทกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยในการช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต” ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom Cloud Meeting )

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจบทบาทกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยในการช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประสานความร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต

สาระสำคัญของเนื้อหาการอบรม

1. บทบาท หน้าที่ และแนวทางปฏิบัติของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต
2. บทบาท ภารกิจของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในการบริหารจัดการภัยพิบัติของชาติและการบริหารในภาวะภาวะวิกฤต
3. แนวทางการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
4. หลักการจัดการความเสี่ยงจากจากสาธารณภัย
5. การจัดการสาธารณภัยในภาวะวิกฤต

     การอบรมตามโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสาทั้ง 2 ครั้ง ทำให้ผู้เข้าอบรมซึ่งรวมทั้งผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสาเข้าใจสถานการณ์และแนวโน้มที่จะเกิดภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งจะมีผู้ประสบภาวะวิกฤตเป็นจำนวนมากมีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมผู้ที่จะเข้าไปร่วมปฏิบัติภารกิจให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤต ผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์จิตอาสาสามารถสมัครร่วมปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤตโดยประสานงานกับพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดซึ่งทำงานร่วมกับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม