ประกาศคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดการสอบและพัฒนาระบบสอบ เรื่อง กำหนดรายละเอียดวิธีการปฏิบัติ เกณฑ์ชี้วัดสำคัญ และดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2567 โดยในข้อ 6 ได้ระบุถึงการประเมินทักษะและทัศนคติทางสังคมสงเคราะห์ สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
1. ผู้สมัครสอบสัมภาษณ์ต้องผ่านการสอบข้อเขียนตามเกณฑ์ ข้อ 4 แห่งประกาศคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดการสอบและพัฒนาระบบสอบ เรื่อง กำหนดรายละเอียดวิธีการปฏิบัติ เกณฑ์ชี้วัดสำคัญ และดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2567 ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ดังนี้ (1) ได้รับคะแนนในการทดสอบความรู้ความสามารถตามหมวดวิชาเกี่ยวกับหลักคิด ปรัชญา จริยธรรมทางสังคมสงเคราะห์ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ให้ถือว่า “ผ่าน” (2) ได้รับคะแนนในการทดสอบความรู้ความสามารถตามหมวดวิชาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ โดยวิธีการสอบข้อเขียน เฉลี่ยรวม 2 วิชา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ให้ถือว่า “ผ่าน” แต่ต้องได้คะแนนรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 2. ยื่นใบสมัครสอบเพื่อประเมินทักษะและทัศนคติทางสังคมสงเคราะห์โดยการสอบสัมภาษณ์ (สวชส.8 แบบคำขอสอบสัมภาษณ์) คลิกที่นี่
1. เอกสารที่แสดงถึงทักษะและทัศนคติทางสังคมสงเคราะห์ เช่น เอกสารสรุปบทเรียนจากการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ หรือเอกสารสรุปบทเรียนจากการฝึกภาคปฏิบัติทางสังคมสงเคราะห์ หรือเอกสารสรุปบทเรียนจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม หรือเอกสารเขียนสรุปบทเรียนจากการปฏิบัติงานในองค์กรสังคมสงเคราะห์ หรือเอกสารสรุปบทเรียนจากการทำงานวิจัยทางสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น 2. ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ 2.1 ส่วนนำ: ระบุให้ทราบว่างานเขียนนี้เป็นการสรุปบทเรียนจากประสบการณ์ของผู้สมัครรับการสัมภาษณ์จากอะไร และเขียนวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและความต้องการ ที่ต้องใช้การปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ และบอกถึงขอบเขตเนื้อหาของงานเขียนที่จะนำเสนอในงานเขียนนี้ 2.2 ส่วนเนื้อหา: เขียนอธิบายให้เข้าใจถึงประสบการณ์ของผู้สมัครเข้ารับการสัมภาษณ์ในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์จากสถานการณ์ปัญหาและความต้องการในส่วนนำ เขียนให้เห็นถึงการสื่อสาร ทักษะ และทัศนคติของผู้สมัครเข้ารับการสัมภาษณ์ ในการปฏิบัติงานตามกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ (การแสวงหาข้อเท็จจริง การประเมิน วินิจฉัย การวางแผน ดำเนินการ ติดตามประเมินผล การใช้เครื่องมือ การทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ การส่งต่อ เป็นต้น) (2.3) ส่วนสรุป: เขียนสรุปบทเรียนสำคัญจากเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อเสนอเป็นแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์และแนวทางการพัฒนาผู้สอบสัมภาษณ์ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาชีพต่อไป 3. ผู้เข้าสอบต้องนำเสนอในการสอบสัมภาษณ์ โดยการอธิบายและวิเคราะห์เนื้อหาในเอกสารสรุปบทเรียน โดยแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงตรงตามเนื้อหาที่นำเสนออย่างชัดเจน เรียบเรียงให้ผู้อ่านเข้าใจตรงประเด็นตามเนื้อหา ใช้ภาษาที่เหมาะสม ไม่ซ้ำซ้อน มีส่วนนำ ส่วนเนื้อหา ส่วนสรุปที่ชัดเจน และงานเขียนควรมีการอ้างอิงตามระบบวิชาการ
เกณฑ์การประเมินทักษะและทัศนคติทางสังคมสงเคราะห์เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต มี 4 ส่วน คะแนนเต็ม 100 คะแนน ผู้เข้าสอบต้องได้คะแนน 60 คะแนนขึ้นไปถึงจะถือว่าสอบผ่าน ซึ่งคณะกรรมการจะประเมินผู้เข้าสอบในภาพรวมใน 4 ส่วนย่อยนี้ ประกอบด้วย 1. ทักษะทางสังคมสงเคราะห์ในการปฏิบัติงาน (30 คะแนน) เช่น 1.1 การสร้างสัมพันธภาพ 1.2 การสื่อสาร การฟัง การสังเกต การตั้งคำถาม 1.3 การค้นหาข้อเท็จจริง การวิเคราะห์ และการประเมิน 1.4 การวางแผน การดำเนินงาน และให้การช่วยเหลือ 1.5 การเยี่ยมบ้าน 1.6 การให้การปรึกษา 1.7 การบันทึก 1.8 การติดตาม ประสานงาน การส่งต่อ และการปฏิบัติงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ 1.9 การเสริมพลังอำนาจและการพิทักษ์สิทธิ์ 1.10 การสร้างและพัฒนาเครือข่ายในการปฏิบัติงาน 1.11 การแก้ไขปัญหา 1.12 การจัดการรายกรณี 1.13การประยุกต์ใช้หลักศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม กับงานสังคมสงเคราะห์ 2. ทัศนคติทางสังคมสงเคราะห์ (30 คะแนน) เช่น 2.1 การไม่ตำหนิ ไม่ตัดสินผู้ใช้บริการ หรือการด่วนสรุปเรื่องใด ๆ ที่ยังขาดเอกสารหรือข้อมูลประกอบที่สมบูรณ์ 2.2การเคารพความหลากหลาย เช่น เพศ อายุ ศาสนา วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ความพิการ กลุ่มเปราะบาง เป็นต้น 2.3 การมีความเห็นอกเห็นใจ 2.4 การมีความเป็นธรรมทางสังคม 2.5 การเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ 2.6 การเห็นคุณค่าทางวิชาชีพ ยึดถือหลักการ จรรยาบรรณ มาตรฐานการให้บริการทางวิชาชีพ 2.7 การยึดถือหลักการการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และทีมสหวิชาชีพ 2.8 การคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้บริการ 3. การเขียน (20 คะแนน) ผู้เข้าสอบต้องเรียบเรียงเอกสารให้ผู้อ่านเข้าใจตรงประเด็นตามเนื้อหา ไม่ซ้ำซ้อน รวมถึงความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ การเขียนประกอบไปด้วย ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุปที่ชัดเจน 4. การนำเสนอ (20 คะแนน) ผู้เข้าสอบต้องอธิบายหรือวิเคราะห์เอกสารที่นำเสนอให้เห็นถึงความเชื่อมโยงหรือสอดประสานกับประเด็นต่าง ๆ ตามหัวข้อย่อยที่กำหนดทั้ง 3 ส่วน ได้อย่างกลมกลืนและตรงประเด็น เอกสารประกอบการประเมินทักษะและทัศนคติทางสังคมสงเคราะห์ จำนวนหน้าต้องไม่น้อยกว่า 2 หน้า แต่ไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4 ผู้สมัครสอบต้องส่งเอกสารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มาที่อีเมล [email protected] และทางไปรษณีย์มาที่สำนักงานสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์