ประเภทสมาชิกสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์


ตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 หมวด 2 มาตรา 9 ได้มีการกำหนดสมาชิกสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ไว้ 4 ประเภท ได้แก่
1. สมาชิกสามัญ
2. สมาชิกวิสามัญ
3. สมาชิกสมทบ
4. สมาชิกกิตติมศักดิ์
ซึ่งสมาชิกแต่ละประเภทจำเป็นต้องมีคุณสมบัติ และสิทธิหน้าที่ ดังนี้

1. สมาชิกสามัญ

คุณสมบัติ
1. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
2. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หรือปริญญาตรี ในสาขาวิชาอื่นที่สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับรองและผ่านการฝึกอบรม โดยมีประสบการณ์ในการทำงาน เกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง การให้คำปรึกษา แนะนํา การส่งเสริมและการสนับสนุนเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ตามมาตรฐานที่สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์กำหนด
3. ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหายซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนํามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ แห่งวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อบังคับ
4. ไม่เคยต้องโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่า จะนํามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อบังคับ
5. ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
6. ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดในข้อบังคับ

มีสิทธิและหน้าที่
1. ขอขึ้นทะเบียนและขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต หรือขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ รับอนุญาตสาขาต่าง ๆ
2. แสดงความเห็นและสอบถามเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ส่งไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และในกรณีที่สมาชิกสามัญร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป เสนอให้ คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับกิจการของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ คณะกรรมการต้องพิจารณา และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
3. เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง หรือรับเลือกเป็นกรรมการหรือดำรงตำแหน่งอื่นอันเกี่ยวกับกิจการ ของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
4. ชําระค่าขึ้นทะเบียนสมาชิก ค่าบํารุง และค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในข้อบังคับ
5. ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และปฏิบัติตนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
6. ได้รับสวัสดิการหรือบริการอื่น ๆ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

2. สมาชิกวิสามัญ

สมาชิกวิสามัญ เป็นองค์กรภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ด้านสังคมสงเคราะห์ โดยมีกิจกรรมและลักษณะตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ว่าด้วยการเป็นสมาชิก การกําหนดค่าขึ้นทะเบียนสมาชิก ค่าบํารุงและค่าธรรมเนียมอื่น การเลือกหรือเลือกตั้งกรรมการ และการประชุมของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ไว้ ดังนี้
1. ป้องกันแก้ไขปัญหาให้แก่บุคคล ครอบครัว กลุ่มคนหรือชุมชน ให้กระทำหน้าที่ทางสังคม และดำรงชีวิตได้อย่างปรกติสุข
2. ให้ความช่วยเหลือทางสังคมหรือบริการทางสังคม
3. คุ้มครองสิทธิ ให้คำปรึกษาแนะนํา ส่งเสริม และการสนับสนุนเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม

สิทธิประโยชน์
1. แสดงความเห็นและสอบถามเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ส่งไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และในกรณีที่สมาชิกสามัญร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป เสนอให้ คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับกิจการของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ คณะกรรมการต้องพิจารณา และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
2. ชําระค่าขึ้นทะเบียนสมาชิก ค่าบํารุง และค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในข้อบังคับ
3. ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และปฏิบัติตนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
4. ได้รับสวัสดิการหรือบริการอื่น ๆ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

3. สมาชิกสมทบ

สมาชิกสมทบต้องเป็นบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ว่าด้วยการเป็นสมาชิก การกําหนดค่าขึ้นทะเบียนสมาชิก ค่าบํารุงและค่าธรรมเนียมอื่น การเลือกหรือเลือกตั้งกรรมการ และการประชุมของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ไว้ ดังนี้
1. มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
2. อยู่ระหว่างการศึกษาในระดับปริญญาทางด้านสังคมสงเคราะห์ หรือสาขาอื่นที่สภาวิชาชีพ สังคมสงเคราะห์รับรอง หรือสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีทางด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หรือ
3. เป็นผู้ปฏิบัติงานหรือเป็นอาสาสมัครที่ทำงานเกี่ยวกับงานสังคมสงเคราะห์ หรือด้านอื่น ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
4. ไม่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
  - ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหายซึ่งจะนํามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามมาตรา ๑๐ (๓) ได้แก่ เคยถูกไล่ออกหรือถูกปลดออกฐานกระทำความผิดวินัยร้ายแรงจากองค์กรภาครัฐ เอกชน
  - ไม่เคยต้องโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ในคดีที่จะนํามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ แห่งวิชาชีพตามมาตรา ๑๐ (๔) ได้แก่ บุคคลซึ่งต้องคําพิพากษาถึงท่ีสุดให้จําคุกและได้ถูกจําคุกจริง ในทุกฐานความผิด เว้นแต่เป็นความผิดที่กระทำโดยประมาท หมิ่นประมาท หรือความผิดลหุโทษ
  - ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ได้แก่ วัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ โรคเท้าช้างในระยะ ที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษ โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์

สิทธิประโยชน์
1. แสดงความเห็นและสอบถามเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ส่งไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และในกรณีที่สมาชิกสามัญร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป เสนอให้ คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับกิจการของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ คณะกรรมการต้องพิจารณา และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
2. ชําระค่าขึ้นทะเบียนสมาชิก ค่าบํารุง และค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในข้อบังคับ
3. ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และปฏิบัติตนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
4. ได้รับสวัสดิการหรือบริการอื่น ๆ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ สมาชิกสมทบ สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นสมาชิกสามัญได้เมื่อมี คุณสมบัติครบถ้วนของการเป็นสมาชิกสามัญ โดยไม่เสียค่าสมาชิกสามัญแรกเข้า และระยะเวลาในการเป็นสมาชิกสมทบจะสิ้นสุดลง หลังจากได้รับการอนุมัติจาก สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ให้เปลี่ยนสถานะเป็นสมาชิกสามัญ

4. สมาชิกกิตติมศักดิ์

สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์เชิญให้เป็น สมาชิกกิตติมศักดิ์
สิทธิประโยชน์
1. แสดงความเห็นและสอบถามเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ส่งไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และในกรณีที่สมาชิกสามัญร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป เสนอให้ คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับกิจการของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ คณะกรรมการต้องพิจารณา และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
2. ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และปฏิบัติตนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
3. ได้รับสวัสดิการหรือบริการอื่น ๆ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด