พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556
กับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565


พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย คืออะไร ?

     คือ กฎหมายกลางในการปรับเป็นพินัย โดยเปลี่ยนความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว และความผิดที่มีโทษปรับทางปกครองทีใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เป็นความผิดทางพินัย โดยมีการกำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องชำระค่าปรับเป็นพินัย ตามที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือศาลกำหนด โดยต้องไม่เกินจำนวนสูงสุดที่กฎหมายซึ่งบัญญัติความผิดทางพินัยกำหนดไว้ โดยกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันกระทำความผิด เว้นแต่กฎหมายซึ่งบัญญัติความผิดทางพินัยจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นและระยะเวลาในการบังคับค่าปรับเป็นพินัย 5 ปี นับแต่มีคำสั่งหรือคำพิพากษา แต่ถ้ายึดหรืออายัดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องไว้แล้วสามารถดำเนินการต่อได้

ความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556

     กรณีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 มีกฎหมาย 2 มาตรา ที่ผู้กระทำความผิดต้องชำระค่าปรับเป็นพินัย ประกอบด้วย มาตรา 29 และ มาตรา 45 มาตรา 29 ห้ามผู้ใดประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตหรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิที่จะประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
เว้นแต่ในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
   (1) การช่วยเหลือประชาชนตามหน้าที่พลเมืองดีอันเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม
   (2) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมซึ่งทำการฝึกหัดหรือฝึกอบรมในความควบคุมของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือสถาบันที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้งสถาบันทางสังคมสงเคราะห์ของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันทางสังคมสงเคราะห์อื่นภายใต้ความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต
   (3) บุคคลซึ่งหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรภาคเอกชนมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต
   (4) การประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ

ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 29 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

ตามมาตรา 45 แห่ง พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556

     กรณีการปรับเป็นพินัยบังคับเฉพาะกลุ่มที่ถูกพักได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 มีกฎหมาย 2 มาตรา ประกอบด้วย มาตรา 43 และ มาตรา 47
     มาตรา 43 ห้ามผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต

ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 43 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

ตามมาตรา 47 แห่ง พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556

ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

     เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสวงหาข้อเท็จจริงของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 19 แห่ง พรบ. ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 จะใช้ กฎกระทรวง การแสวงหาข้อเท็จจริง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหา พ.ศ. 2566 มาใช้บังคับ

ขั้นตอนการปรับเป็นพินัย เป็นอย่างไร ?

   (1) เมื่อพบการกระทำความผิด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรวบรวมข้อเท็จจริงและหลักฐาน และให้โอกาสผู้กระความผิดได้ชี้แจง
   (2) หากเจ้าหน้าที่ของรัฐเชื่อว่ามีการกระทำความผิด ให้มีคำสั่งปรับเป็นพินัย และส่งเป็นหนังสือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ตามที่อยู่ในทะเบียนราษฎรหรือที่แจ้งไว้ และให้ถือว่าผู้นั้นได้รับแจ้งตั้งแต่วันครบสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฎในทะเบียนตอบรับ
   (3) การชำระค่าปรับ กำหนดให้ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยค่าปรับเป็นพินัยต้องนำส่งคลังเป็นรายได้ของแผ่นดิน เว้นแต่กฎหมายซึ่งบัญญัติความผิดทางพินัยหรือกฎหมายอื่นจะกำหนดไวเป็นอย่างอื่น
   (4) หากผู้กระทำความผิดปฏิเสธหรือไม่ชำระค่าปรับภายในเวลาที่กำหนด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสรุปสำนวนส่งอัยการเพื่อฟ้องคดีต่อศาลต่อไป
   (5) หากอัยการสั่งไม่ฟ้อง ให้แจ้งหน่วยงานของรัฐ
   (6) หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีความเห็นแย้งให้ผู้บังคับบัญชา ชั้นเหนือกว่าของอัยการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
   (7) หากผู้กระทำความผิดยินยอมชำระค่าปรับก่อนอัยการส่งฟ้อง หรือศาลมีคำพิพากษา ความผิดทางพินัยเป็นอันยุติ

กระบวนการปรับเป็นพินัย
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565
และกฎกระทรวงการแสวงหาข้อเท็จจริง การรวบรวมพยานหลักฐาน ฯ พ.ศ. 2566 ประกอบพระราชบัญญัติ
วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556

ขั้นตอนที่ 1 การพบเห็นการกระทำความผิด ตามมาตรา 19 แห่งพรบ.ปรับเป็นพินัยฯ ประกอบข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2566

     เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสวงหาข้อเท็จจริงของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 19 แห่ง พรบ. ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 จะใช้ กฎกระทรวง การแสวงหาข้อเท็จจริง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหา พ.ศ. 2566 มาใช้บังคับ
   • มีเหตุอันควรสงสัย
   • มีการกล่าวหา
   • เจ้าหน้าที่ของรัฐของรัฐพบเห็นเอง
      คำว่า “การกระทำความผิด” หมายถึง มีการกระทำความผิด 1. ฐานประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์โดยไม่มีใบอนุญาตตามมาตรา 29 และมีโทษตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 หรือ 2. ฐานประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ขณะถูกพักใบอนุญาต ตามมาตรา 43 และมีโทษตามมาตรา 47 แห่พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556
     คำว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายถึง ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม.ได้ประกาศกาหนดให้เป็นผู้มีอานาจปรับเป็นพินัย คำว่า “การกล่าวหา” หมายถึง การที่บุคคลใดได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ว่ามีการกระทำความผิดทางพินัยตามมาตรา 29 หรือมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพฯ ขึ้น โดยรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม และจะแจ้งเป็นหนังสือ หรือด้วยวาจา หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ คำว่า“เหตุอันควรสงสัย” คือ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มาประกอบกันแล้ว ทำให้เกิดความสงสัยว่า นักสังคมสงเคราะห์ในสังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งนี้มีภารกิจตามมาตรา 28 (1)(2)(3) แต่ตามฐานข้อมูลของสภาวิชาชีพฯ ไม่มีผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตแต่อย่างใด (ไม่ใช่สงสัยเอาเองตามอัตวิสัยและประสบการณ์)

ขั้นตอนที่ 2 การแสวงหาข้อเท็จจริงของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2566

   • แสวงหาข้อเท็จจริงได้ทั่วราชอาณาจักร ข้อ 5 (1)
   • เจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการเองหรือมอบหมายพนักงานของหน่วยงานรัฐดำเนินการแทนได้ ข้อ 5 (2)
   • รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ รวมถึงพยานหลักฐานที่แสดงความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาด้วย

ขั้นตอนที่ 3 การแจ้งข้อกล่าวหาและการให้โอกาสชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2566

     เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสวงหาข้อเท็จจริงของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 19 แห่ง พรบ. ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 จะใช้ กฎกระทรวง การแสวงหาข้อเท็จจริง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหา พ.ศ. 2566 มาใช้บังคับ
   • เจ้าหน้าที่ของรัฐพบว่ามีความผิดฐานใดฐานหนึ่ง หรือมีหลักฐานว่าบุคคลนั้นไม่มีความผิด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งเป็นหนังสือหรือวาจา ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และสิทธิที่จะให้การทันที หรือภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง กรณีผู้ถูกกล่าวหายอมรับสารภาพ ให้จนท.ของรัฐ ออกคำสั่งปรับเป็นพินัย ตาม ม.20 และข้อ 8
   • การชี้แจ้งแก้ข้อกล่าวหา การยอมรับสารภาพ โดยผู้ถูกล่าวหาจะทำเป็นหนังสือ วาจา หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในกรณีที่ทำด้วยวาจาให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบันทึกไว้แลัวผู้ถูกกล่าวหาลงนามเป็นหลักฐาน ข้อ 9
   • ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิแต่งตั้งทนายความหรือบุคคลอื่นใด ให้เป็นผู้ชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหาแทนหรือร่วมกับตนก็ได้ ข้อ 10
   • ถ้าผู้ถูกกล่าวหาตกเป็นบุคคลวิกลจริตในระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริง ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐระงับการแสวงหาข้อเท็จจริงไว้ก่อนจนกว่าผู้นั้นจะหายวิกลจริต ข้อ 11
   • กรณีพ้นกำหนดเวลาที่ผู้ถูกล่าวหาชี้แจง ไม่ว่าผู้ถูกกล่าวหาจะชี้แจงหรือไม่ และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้พิจารณประกอบข้อเท็จจริงที่แสวงหามานั้นแล้วเห้นว่า ผู้นั้นกระทำผิดพินัย ให้ดำเนินการสั่งปรับเป็นพินัย ตามม. 20 ประกอบมาตรา 45 หรือมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพฯ และในกรณีทีพิจารณาแล้วผู้นั้นไม่มีความผิดให้สั่งยุติเรื่องและแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาและผู้กล่าวหาทราบ ข้อ 12

      สำหรับจำนวน“เจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะพิจารณา” หมายถึง กรณีข้อกล่าวหาตามมาตรา 29 ประกอบมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพฯ มีการกำหนดอัตราค่าปรับไม่เกิน 20,000 บาทขึ้นไป ในการพิจาณาดำเนินการตามมาตรานี้ต้องใช้เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่น้อยกว่า 3คน ตามรายชื่อประกาศกระทรวง พม. ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2567 ประกอบมาตรา 14 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.ปรับเป็นพินัยฯ ส่วนข้อกล่าวหาตามมาตรา 43 ประกอบมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพฯ มีการกำหนดอัตราค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท จะใช้เจ้าหน้าที่ของรัฐคนเดียวก็ได้

ขั้นที่ 4 การกำหนดค่าปรับเป็นพินัย ตามมาตรา 9 โดยพิจารณาจาก


   • ระดับความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ชุมชนหรือสังคม จากการกระทำผิดทางพินัย
   • ความรู้ผิดชอบ อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษา สุขภาพ ภาวะจิตใจ นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อม การกระทำผิดซ้ำ
   • ผลประโยชน์ที่ผุ้กระทำผิดทางพินัยหรือบุคคลอื่นได้รับจากการกระทำผิด
   • สถานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำความผิด


   คำว่า “การกระทำความผิดตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพฯ” มีองค์ประกอบดังนี้
   1. ผู้กระทำ หมายถึง บุคคลธรรมดา
   2. การกระทำ หมายถึง การกระทำที่มีลักษณะที่เป็นการประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิที่จะประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพฯ โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
   3. เจตนาของผู้กระทำ หมายถึง ผู้กระทำมีความประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลว่า ผู้กระทำได้กระทำไปโดยไม่มีสิทธิที่จะประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตตามมาตรา 28 (1)(2) หรือ (3)แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพฯ
   4. ผลของการกระทำ หมายถึง การกระทำของผู้กระทำต้องกระทบต่อสิทธิของกลุ่มเป้าหมายตามมาตรา 28 หรือก่อให้เกิดความเสียหายหรือคาดว่าจะเกิดผลเสียหายต่อกลุ่มเป้าหมายโดยไม่เป็นธรรม หรืออาจทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าไม่ถึงสิทธิ หรือถูกกีดกันหรือปฏิเสธการช่วยเหลือโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือได้รับบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้กลุ่มเป้าหมายต้องตกอยู่ในสภาวะที่เสียเปรียบบุคคลอื่น
   5. ข้อยกเว้นตามกฎหมายที่ให้กระทำได้ หมายถึง (1) การช่วยเหลือประชาชนตามหน้าที่พลเมืองดีอันเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม (2) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมซึ่งทำการฝึกหัดหรือฝึกอบรมในความควบคุมของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือสถาบันที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้งสถาบันทางสังคมสงเคราะห์ของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันทางสังคมสงเคราะห์อื่นภายใต้ความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต (3) บุคคลซึ่งหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรภาคเอกชนมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต (4) การประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ

คำว่า “การกระทำความผิดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพฯ” มีองค์ประกอบ ดังนี้
   1. ผู้กระทำ หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
   2. การกระทำ หมายถึง การกระทำที่มีลักษณะที่เป็นการประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต
   3. เจตนาของผู้กระทำ หมายถึง ผู้กระทำมีความประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลว่าผู้กระทำได้กระทำไปโดยไม่มีสิทธิที่จะประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตตามมาตรา 28 (1)(2) หรือ (3) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพฯ
  4. ผลของการกระทำ หมายถึง การกระทำของผู้กระทำต้องกระทบต่อสิทธิของกลุ่มเป้าหมายตามมาตรา 28 หรือก่อให้เกิดความเสียหายหรือคาดว่าจะเกิดผลเสียหายต่อกลุ่มเป้าหมายโดยไม่เป็นธรรม หรืออาจทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าไม่ถึงสิทธิ หรือถูกกีดกันหรือปฏิเสธการช่วยเหลือโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือได้รับบริการที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้กลุ่มเป้าหมายต้องตกอยู่ในสภาวะที่เสียเปรียบบุคคลอื่น
  5. ข้อยกเว้นตามกฎหมายที่ให้กระทำได้ หมายถึง (1) การช่วยเหลือประชาชนตามหน้าที่พลเมืองดีอันเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม (2) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมซึ่งทำการฝึกหัดหรือฝึกอบรมในความควบคุมของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือสถาบันที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้งสถาบันทางสังคมสงเคราะห์ของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันทางสังคมสงเคราะห์อื่นภายใต้ความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต (3) บุคคลซึ่งหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรภาคเอกชนมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต (4) การประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ

ขั้นตอนที่ 5 การแจ้งคำสั่งปรับเป็นพินัย

     ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐส่งคำสั่งปรับเป็นพินัย ให้ผู้กระทำความผิดเป็นพินัยทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังที่อยู่ที่ปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียน หรือที่อยู่ตามที่ได้แจ้งไว้ต่อหน่วยงานของรัฐ โดยให้ถือว่าผู้นั้นได้รับแจ้งตั้งแต่วันครบสิบห้าวัน นับแต่วันที่ปรากฏในทะเบียนตอบรับ ตาม มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติปรับเป็นพินัยฯ

ขั้นต่อที่ 6 การชำระค่าปรับเป็นพินัย

• กรณีชำระค่าปรับครบถ้วนแล้ว ให้ผู้รับชำระเงินค่าปรับออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาไว้เป็นหลักฐาน
  • ถ้าผู้กระทำความผิดร้องขอ และเจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่าผู้กระทำความผิดไม่อาจชำระค่าปรับในคราวเดียวได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะให้ผ่อนชำระได้ ตาม มตรา 9 วรรคสอง
  • ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลธรรมดา และกระทำความผิดเพราะเหตุแห่งความยากจนและยื่นคำร้องแสดง เหตุผลเพื่อขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับเป็นพินัยได้ ตาม มาตรา 10
  • เนื่องจากพระราชบัญญัติวิชาชีพฯ มาตรา ๗ มิได้กำหนดให้ค่าปรับเป็นรายได้ของสภาวิชาชีพ ค่าปรับเป็นพินัยให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ตามมาตรา 36

ขั้นที่ 7 การดำเนินการภายหลังการออกคำสั่ง


  • กรณีผู้ถูกกล่าวหาฎิเสธข้อกล่าวหาหรือไม่ชำระค่าปรับภายในเวลาที่กำหนด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ สรุปข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย พยานหลักฐาน และส่งสำนวนสอบสวนให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไป ตามมาตรา 23
  • หากพนักงานอัยการเห็นควรสั่งฟ้อง ให้ดำเนินการสั่งฟ้อง ตาม มาตรา25
  • ถ้าผู้กระทำความผิดชำระค่าปรับครบถ้วนตามที่จนท.ของรัฐได้กำหนดก่อนฟ้องศาล ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพนักงานรอัยการ ให้ยุติการดำเนินการฟ้องคดี ตาม มาตรา 27

ขั้นตอนที่ 8 การยุติคดีความผิดเป็นพินัย

  • มีการชำระค่าปรับเป็นพินัยหรือทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์ครบถ้วนแล้ว ตามมาตรา 33 (1)   • ผู้กระทำความผิดถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 33 (2)   • มีการเปรียบเทียบความผิดอาญา ตาม ม.16 (4) ตามมาตรา 33 (3)   • คดีขาดอายุความตาม ม.11 หรือพ้นกำหนดเวลา ตาม ม.12 ตามมาตรา 33 (4) คือ 2 ปี